ประวัติความเป็นมาของบริษัท
บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน) (“บริษัท” หรือ “NYT”) เดิมชื่อ บริษัท เหมืองแม่ตีบ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 11.00 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการเหมืองแร่และถ่านหิน โดยมี ครอบครัวว่องกุศลกิจ ครอบครัวเอื้ออภิญญกุล และครอบครัวกันทาธรรม ร่วมกันก่อตั้งบริษัท (ครอบครัวว่องกุศลกิจและครอบครัวเอื้ออภิญญกุล เป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เหมืองบ้านปู จำกัด ในปี 2526 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (“บมจ. บ้านปู”)) ต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2527 บริษัท เหมืองแม่ตีบ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ถ่านหินสากล จำกัด โดยยังคงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเหมืองแร่และถ่านหินเช่นเดิม และเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2531 บริษัท ถ่านหินสากล จำกัด ได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20.00 ล้านบาท
ในปี 2530 การท่าเรือแห่งประเทศไทย (“กทท.”) ได้เริ่มก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังตามนโยบายของรัฐบาลในสมัยนั้นซึ่งได้มีมติให้เร่งการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบังสำหรับบริการสินค้าทั่วไป สินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าเกษตรกรรม และส่งเสริมการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขนาดเบาที่ไม่มีปัญหาต่อสภาวะแวดล้อม เนื่องจากท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือพาณิชย์หลักในช่วงเวลาดังกล่าวมีข้อจำกัดด้านความยาวหน้าท่าเทียบเรือและความลึกร่องน้ำ โดยเรือขนส่งสินค้าที่เข้ามาเทียบท่าเรือกรุงเทพจะต้องมีความยาวไม่เกิน 172 เมตร และกินร่องน้ำลึกระหว่าง 8.5 – 11.0 เมตร ทำให้เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้ามาเทียบท่าเรือกรุงเทพได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังยังเป็นการลดความแออัดของท่าเรือกรุงเทพอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และการส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคตเพื่อรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว โดยท่าเรือแหลมฉบังได้เปิดดำเนินการท่าเทียบเรือ B1 เป็นท่าเทียบเรือแรกในปี 2534
- 2566
- 2565
- 2564
- 2563
- 2562
- 2561
- 2560
- 2559
- 2558
- 2557
- 2556
- 2555
- 2553
- 2552
- 2547
- 2545
- 2541
- 2539
- 2527
- 2525
-
- รางวัลกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) จากสถาบันไทยพัฒน์เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
- ได้รับการจัดอันดับ SET ESG Rating level “A” จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-
- เป็นปีที่ 8 ติดต่อกันที่บริษัทได้รับคะแนน CGR score ระดับ 5 ดาว หรือ "ดีเลิศ" จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
- ได้คะแนน AGM Checklist ปี 2566 เต็ม 100 คะแนนจากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
-
- รางวัลกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) จากสถาบันไทยพัฒน์เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน
- 1 ใน 170 บริษัทและเป็นปีที่ 7 ติดต่อกันที่ได้รับรางวัล "หุ้นยั่งยืน" ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เป็นปีที่ 7 ติดต่อกันที่บริษัทได้รับคะแนน CGR score ระดับ 5 ดาว หรือ "ดีเลิศ" จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
-
- รางวัลประกาศเกียรติคุณ ระดับทองแดง ปีที่ 2 กิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ประจำปี 2565
- ได้คะแนน AGM Checklist ปี 2565 เต็ม 100 คะแนน จากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
-
- รางวัลกิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) จากสถาบันไทยพัฒน์เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน
- 1 ใน 146 บริษัทและเป็นปีที่ 6 ติดต่อกันที่ได้รับรางวัล “หุ้นยั่งยืน” ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เป็นปีที่ 6 ติดต่อกันที่บริษัทได้รับคะแนน CGR Score ระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” จากผลสํารวจการกํากับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
-
- จัดทํา 56-1 One report ปี 2563 ก่อนมีผลบังคับใช้ (early adopt) ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้นํารายชื่อบริษัทจดทะเบียนจํานวน 163 บริษัทที่จัดทําแบบ early adopt ประกาศบน www.capthai4good.com
- ผ่านการประเมินเป็นสํานักงานสีเขียว (Green Office) จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
-
- รางวัลกิตติกรรมประกาศ จากสถาบันไทยพัฒน์
- 1 ใน 124 บริษัทและเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่ได้รับรางวัล "หุ้นยั่งยืน" ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-
- 1 ใน 240 บริษัทจาก 692 บริษัทและเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่บริษัทได้รับคะแนน CGR score ระดับ 5 ดาว หรือ "ดีเลิศ" จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ปี 2563 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
- 1 ใน 199 บริษัทจาก 712 บริษัทและเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันที่บริษัทได้คะแนน AGM Checklist ปี 2563 เต็ม 100 คะแนนจากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
-
มิถุนายน
- 1 ใน 182 บริษัทจาก 672 บริษัทและเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่บริษัทได้คะแนน AGM Checklist ปี 2562 เต็ม 100 คะแนนจาก สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
-
ตุลาคม
- 1 ใน 98 บริษัทและเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่ได้รับรางวัล "หุ้นยั่งยืน" ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- 1 ใน 193 บริษัทจาก 677 และเป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่บริษัทได้รับคะแนน CGR score ระดับ 5 ดาว หรือ "ดีเลิศ" จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ปี 2562 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
-
มิถุนายน
- ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 45 บริษัทที่อยู่ใน SETTHSI Index
- 1 ใน 139 บริษัทจาก 657 บริษัทและเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่บริษัทได้คะแนน AGM Checklist ปี 2561 เต็ม 100 คะแนนจาก สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
-
ตุลาคม
- 1 ใน 79 บริษัทและเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่ได้รับรางวัล "หุ้นยั่งยืน" ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- 1 ใน 142 บริษัทจาก 657 และเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่บริษัทได้รับคะแนน CGR score ระดับ 5 ดาว หรือ "ดีเลิศ" จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย
ปี 2561 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
-
มิถุนายน
- 1 ใน 114 บริษัทจาก 618 บริษัทและเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่บริษัทได้คะแนน AGM Checklist ปี 2560 เต็ม 100 คะแนนจากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
-
ตุลาคม
- 1 ใน 65 บริษัทและเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล “หุ้นยั่งยืน” ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- 1 ใน 110 บริษัทจาก 620 บริษัท และเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่บริษัทได้รับคะแนน CGR score ระดับ 5 ดาว หรือ “ดีเลิศ” จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ปี 2560 ของสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
-
มิถุนายน
- บริษัทได้รับคะแนน AGM Checklist ปี 2559 เต็มร้อยละ 100
-
พฤศจิกายน
- บริษัทได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อรางวัล THSI หรือ "หุ้นยั่งยืน"
- บริษัทได้รับคะแนน CGR Score 5 ดาว หรือ "ดีเลิศ"
-
กรกฎาคม
บริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2004) และมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHSAS 18001:2007) ซึ่งการรับรองดังกล่าวส่งผลให้ท่าเทียบเรือ A5 เป็นท่าเทียบเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้ารถยนต์ (Ro/Ro) และสินค้าทั่วไป รายแรกของประเทศที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว
-
พฤษภาคม
บริษัทได้รับการจัดอันดับเข้า MSCI Global Small Cap Indexes (Morgan Stanley Composite Index)
-
กันยายน
- บริษัทได้รับรางวัลผู้ประกอบการที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ หรือ ELMA (Excellent Logistics Management Award)
- บริษัทได้รับรางวัลผู้ประกอบธุรกิจดีเด่น หรือ PM Award (Prime Minister’s Business Enterprise Award) ประเภทรางวัลธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Best Service Enterprise Award)
-
พฤศจิกายน
- บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วจาก 414.50 ล้านบาท เป็น 620.00 ล้านบาท โดยการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 205.50 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ในราคาเสนอขายหุ้นละ 11.90 บาท ให้แก่ประชาชน
- หุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
-
เมษายน
บริษัทและกลุ่ม Nippon Yusen Kabushiki Kaisha (“NYK”) ได้เข้าร่วมลงทุนในบริษัท แหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล โร-โร เทอร์มินัล จำกัด (“LRT”) ซึ่งประกอบธุรกิจบริการท่าเทียบเรือ C0
-
มิถุนายน
จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555
-
เมษายน
บริษัทได้ทำสัญญา Car Terminal Facility and Service Agreement กับ 5 สายเดินเรือ มีระยะเวลา 10 ปี เริ่ม 1 พฤษภาคม 2553 สิ้นสุด 30 เมษายน 2563
-
กุมภาพันธ์
เริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ 3 (Berth 3) ด้านข้างท่าเทียบเรือที่ 1 เพิ่มเติมอีก 1 ท่า โดยมีความยาวหน้าท่า 170 เมตร
-
กรกฎาคม
ลงนามในสัญญาข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมกับ กทท. เพื่อปรับแผนธุรกิจจากท่าเทียบเรือเพื่อการขนถ่ายสินค้าประเภทถ่านหินและสินค้าทั่วไป มาเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้ารถยนต์และสินค้าทั่วไปอย่างเป็นทางการ
-
ตุลาคม
จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท นามยง เทอร์มินัล จำกัด (“บริษัท”)
-
มีนาคม
บมจ. บ้านปู ขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดในบริษัท บ้านปู เทอร์มินัล จำกัด ให้กับครอบครัวเหลืองสุวรรณและบริษัท นามยืนยงชิปปิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของครอบครัวเหลืองสุวรรณ ทำให้ครอบครัวเหลืองสุวรรณเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในสัดส่วนร้อยละ 100.00
-
พฤษภาคม
- บริษัท บ้านปู เทอร์มินัล จำกัด ยื่นขอปรับแผนการทำธุรกิจใหม่ต่อท่าเรือแหลมฉบัง โดยเปลี่ยนจากการให้บริการท่าเทียบเรือเพื่อการขนถ่ายสินค้าประเภทถ่านหินมาเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการส่งออกและนำเข้ารถยนต์
- บริษัท บ้านปู เทอร์มินัล จำกัด ได้ทำสัญญา Car Terminal Facility and Service Agreement กับ 5 สายเดินเรือ ซึ่งเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่ 5 สายเดินเรือในการเข้าใช้ท่าเทียบเรือ A5 โดยสัญญาดังกล่าวมีระยะเวลา 8 ปี สิ้นสุดเดือนเมษายน 2553
-
ตุลาคม
- ก่อสร้างท่าเทียบเรือที่ 2 (Berth 2) เสร็จสมบูรณ์ โดยท่าเทียบเรือที่ 2 อยู่ติดกับท่าเทียบเรือที่ 1 (Berth 1) ความยาวหน้าท่า 302 เมตร บริษัทจึงมีท่าเทียบเรือย่อยรวมจำนวน 2 ท่า ความยาวหน้าท่ารวม 527 เมตร สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่ถึง 80,000 DWT
- ขยายพื้นที่จอดรถยนต์เพื่อการส่งออกและนำเข้าเพิ่มเติม ทำให้มีพื้นที่จอดรถยนต์เพื่อการส่งออกและนำเข้ารวมทั้งสิ้น 247,000 ตารางเมตร สามารถจอดรถยนต์ในเวลาเดียวกันได้สูงสุดประมาณ 15,437 คัน
-
มกราคม
บริษัท ถ่านหินสากล จำกัด จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท บ้านปู เทอร์มินัล จำกัด
-
กุมภาพันธ์
เปิดให้บริการท่าเทียบเรืออย่างเต็มรูปแบบ โดยมีความยาวหน้าท่า 225 เมตร ความลึกร่องน้ำ 14 เมตร และมีพื้นที่วางสินค้า โรงพักสินค้า รวมถึงอาคารสำนักงาน
-
เมษายน
บริษัท ถ่านหินสากล จำกัด เข้าลงนามในสัญญาลงทุนก่อสร้าง บริหาร และประกอบการท่าเทียบเรือสินค้ากอง A5 ในท่าเรือแหลมฉบัง กับ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (“กทท.”) เพื่อประกอบธุรกิจท่าเทียบเรือเพื่อขนถ่ายถ่านหินและสินค้าทั่วไป โดยมีระยะเวลาการดำเนินงานทั้งหมด 25 ปี และมีสิทธิขอต่ออายุสัญญาได้อีก 5 ปี ขึ้นกับเงื่อนไขตามที่ตกลงกัน
-
พฤศจิกายน
จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ถ่านหินสากล จำกัด
-
กรกฏาคม
จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เหมืองแม่ตีบ จำกัด เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ด้วยทุนจดทะเบียน 11.00 ล้านบาท เพื่อประกอบกิจการเหมืองแร่และถ่านหิน โดยมีครอบครัวว่องกุศลกิจ ครอบครัวเอื้ออภิญญกุล และครอบครัวกันทาธรรม ร่วมกันก่อตั้งบริษัท